ชื่อสมาชิก

1.นางสาว จันทร์สุดา ผากาเชิด
2.นางสาว สุชาดา อธิจร
3.นางสาว ปริญา ฝายนายาง

แนะแนวการเข้าสุ่มหาวิทยาลัย

คณะทันตแพทยศาสตร์


 รายละเอียดของคณะ

ทันตแพทยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาในเรื่องของฟันและช่องปากและอวัยวะต่างๆ ในช่องปาก บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก การตรวจ วินิจฉัย การวางแผนการรักษา เวชบำบัดหรือการผ่าตัดรักษาโรคและภยันตรายของช่องปากกระดูกขากรรไกรและ อวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปากและอวัยวะข้างเคียง  ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 ปี


 สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาทันตกรรมบดเคี้ยว
สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์
สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ
สาขาวิชาปริทันตวิทยา
สาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและใบหน้า
สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์
สาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปาก
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก


 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทางด้านสายวิทย์-คณิต และมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้ โดยก่อนเข้าศึกษาจะต้องทำสัญญาเมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้จะต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค หรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและประกอบวิชาชีพทันตกรรม


 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

ผู้สำเร็จการศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอน และวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในคลินิกส่วนตัว หรือโรงพยาบาลเอกชนหรือเป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย เป็นต้น


 สถาบันที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
มหาวิทยาลัยนเรศวร 
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะแพทยศาสตร์


 รายละเอียดของคณะ

แพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ตรวจวินัจฉัยโรค การบำบัดโรคการป้องกันโรค การเยี่ยวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆเป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทักษะและความรู้อย่างสูงบุคคลที่จบการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุขและยังสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์มีการศึกษาเฉพาะทางอีกหลากหลายสาขาและแต่ละสาขาก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกมากมายหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี


 สาขาที่เปิดสอน

กายวิภาคศาสตร์
กุมารเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์
จุลชีววิทยา
จักษุวิทยา
ชีวเคมี
นิติเวชศาสตร์
ปรสิตวิทยา
พยาธิวิทยา
เภสัชวิทยา
รังสีวิทยา
วิสัญญีวิทยา
เวชศาสตร์
ชันสูตรเวชศาสตร์ ป้องกัน และสังคมศัลยศาสตร์
สรีรวิทยา
สูติศาสตร์
นรีเวชวิทยา
โสต
นาสิก
ลาริงซ์วิทยา
ออร์โธปิดิกส์
อายุรศาสตร์
เวชศาสตร์ฟื้นฟู


 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติตามระเบียบการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษที่คณะฯ ดำเนินการสอบคัดเลือกเองและต้องมีคุณสมบัติที่จะสามารถเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีทั้งนี้หากไม่รับราชการหรือไม่ทำงานตามที่กำหนดจะต้องชดใช้เงินแก่มหาวิทยาลัย รักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์


 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

การศึกษาในคณะแพทยศาสตร์นั้นมีค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงมากผู้เรียนส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนดังนั้นเมื่อเรียนจบจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามสัญญาของทางราชการเป็นเวลา 3 ปี เพื่อชดใช้ทุน (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันของเอกชน)หลังจากปฏิบัติงานเพื่อชดใช้ทุนแล้วแพทย์ที่มีความต้องการศึกษาต่อก็สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือศึกษาทางการแพทย์เฉพาะทางได้


 สถาบันที่เปิดสอน

คณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี                                                                                                                

คณะเภสัชศาสตร์


 รายละเอียดของคณะ

คณะเภสัชศาสตร์มุ่งศึกษาทางด้านกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบําบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค  โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่อง สำอาง ผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ


 สาขาที่เปิดสอน

เภสัชวิทยา
เภสัชเคมี
เภสัชวิเคราะห์
เภสัชภัณฑ์
เภสัชเวท
เภสัชอุตสาหกรรม
เภสัชศาสตร์สังคม


 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติหน้าที่เภสัชกร มีสุขภาพจิตดีและมีความสนใจในวิชาชีพเภสัชกร


 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นเภสัชกรประจำหน่วยงานราชการหรือเอกชนได้ทุกแห่ง เป็นเภสัชกรหรือผู้ควบคุมคุณภาพของยาในโรงงานเภสัชกรรม เป็นผู้ควบคุมมาตรฐานอาหารและยาบริสุทธิ์ เป็นนักวิเคราะห์วิจัยในสถาบัน กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เป็นเภสัชกรในร้านจำหน่ายยาทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย


 สถาบันที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยสยาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อความ1

tfukgkihohiojhoiuho
fyurfuktutuyt

ประตูมหาลัย

ประตูมหาลัย